เช็ค 5 จุดเสี่ยง! บ้านของคุณมีปัญหาหลังคารั่วซึมหรือไม่ ? จะได้ไม่สายเกินแก้

เช็ค 5 จุดเสี่ยง! บ้านของคุณมีปัญหาหลังคารั่วซึมหรือไม่ ? จะได้ไม่สายเกินแก้

31 ต.ค. 2564   ผู้เข้าชม 261

 ปัญหาในช่วงหน้าฝน คงหนีไม่พ้นกับปัญหาหลังคารั่วซึม ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ชวนให้เจ้าของบ้านหนักใจ และปวดหัวไปพร้อม ๆ กัน จะไม่แก้ไขก็ไม่ได้ เพราะน้ำรั่วซึมจนส่งผลกระทบไปยังส่วนต่าง ๆ ของบ้าน หรือแม้แต่การใช้ชีวิตประจำวันเองก็ตาม หลายบ้านที่ยังไม่เคยเจอ ไม่ได้แปลว่าในอนาคตจะไม่มีเช่นกัน ดังนั้นรู้วิธีไว้ก่อนย่อมดีกว่า จะได้ไม่สายเกินแก้

ในบทความนี้ ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่ จะมาแนะนำวิธีเช็ค 5 จุดเสี่ยงที่มีโอกาสก่อให้เกิดหลังคารั่วซึมในบ้าน เพื่อไม่ให้กลายเป็นปัญหาใหญ่ ตามไปดูพร้อมกันได้เลยครับ

 1. การทำสันหลังคา และตะเข้สันที่ไม่ได้มาตรฐาน

ส่วนของสันหลังคา และตะเข้สันนั้นเป็นส่วนที่ยึดระหว่างหลังคาแต่ละผืนที่มาชนกัน ซึ่งจะมีการใส่ตัวครอบปิดรอยต่อเอาไว้ โดยช่างจะใช้ปูนที่ผสมทราย และน้ำ ไปโปะลงบนสันหลังคา แล้วเอาตัวครอบมาปิด ซึ่งเมื่อใช้นานไปอาจเกิดการเสื่อมสภาพของปูนที่ยึดเกาะหลังคา อาจส่งผลให้เกิดปัญหาหลังคารั่วซึมได้

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุ การใส่ปูนที่มากเกินไป จนล้นเข้าไปในตะเข้สัน หรือใส่บางเกินไป จนปูนไม่สามารถยึดเกาะได้สนิท การเว้นระยะการติดที่ห่างกันเกินไป รวมถึงตัวครอบหลังคาที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีคุณภาพ อาจทำให้เกิดช่องโหว่ ซึ่งส่งผลทำให้น้ำไหลซึมเข้าไป จนกลายเป็นปัญหาน้ำรั่วซึมตามมา

 2. หลังคาบริเวณตะเข้ราง 

 อีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ ยิ่งหลังคาที่มีแนวบรรจบผืนหลังคาระนาบกันจนกลายเป็นทางระบายน้ำ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดหลังคารั่ว ดังนั้นตะเข้ราง จึงเป็นเหมือนตัวช่วยที่จะรับน้ำฝน และระบายน้ำไปยังรางน้ำฝน ซึ่งหากเลือกใช้รางน้ำ ที่ไม่ได้มาตรฐาน รองรับน้ำในปริมาณมากไม่ได้ จะส่งผลให้เกิดสนิมง่าย ทรุดโทรมเร็ว และเกิดปัญหาหลังคารั่วซึมตามมาอย่างแน่นอน

 3. การวางระยะแปไม่เหมาะสม ส่งผลให้หลังคาแอ่นตัว

แป เป็นเหมือนส่วนที่ใช้ในการรับน้ำหนักของหลังคา ถือเป็นส่วนโครงสร้างสำคัญเลยก็ว่าได้ ที่ช่วยในการยึดเกาะกระเบื้อง ซึ่งหากมีการวางระยะที่ไม่เหมาะสม วางห่างกันเกินไป จะส่งผลกับโครงหลังคา ทำให้หลังคาแอ่นตัว เพราะแปแบกรับน้ำหนักมากเกินไป แปจะไปดันกระเบื้องที่เรียงตัวกันให้โก่งขึ้นมา ทำให้เกิดช่องว่าง เพิ่มโอกาสให้หลังคารั่วซึมได้ ดังนั้นการติดตั้งแปทุกครั้ง จึงควรใส่ใจ และละเอียดรอบคอบ ติดตั้งให้ได้มาตรฐาน ตามที่วิศวกรได้กำหนดไว้

 4. ความลาดชันของหลังคา

อีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลอย่างมาก ความลาดชันของหลังคานั้นควรมีมุมองศาที่เหมาะสม ตามแต่ละประเภทของหลังคา ซึ่งปกติหากเป็นงานกระเบื้อง จะมีความชัดอยู่ที่ 15-45 องศา ทั้งนี้ควรเช็คด้วยว่า เพื่อให้ได้ระดับที่เหมาะสม และไม่เกิดปัญหาตามมา ประเภทหรือรูปทรงของหลังคาที่เลือกมานั้นเหมาะสมกับการใช้งานกับแบบบ้านที่กำลังสร้างอยู่หรือไม่ เช่น ความลาดเอียงที่น้อยเกินไป ส่งผลให้ เมื่อฝนตกน้ำฝนจะไหลย้อนกลับเข้าสู่ซอกหลังคา นำไปสู่ปัญหาหลังคารั่ว

 5. ความเชี่ยวชาญของช่างที่สร้างบ้าน

ข้อสุดท้ายที่สำคัญไม่แพ้กันกับการเลือกแบบหลังคา คือ การเลือกช่าง เลือกบริษัทรับสร้างบ้านนั่นเอง เพราะหากมีความรู้ และความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ อาจจะนำพามาสู่ปัญหาอีกมากมายภายหลังการก่อสร้าง แม้จะเลือกซื้อวัสดุที่ดี แต่หากช่างที่ก่อสร้างไม่มีฝีมือ ประสบการณ์น้อย ก็อาจส่งผลกระทบกับการสร้างบ้านโดยตรง ซึ่งไม่ใช่เรื่องดีแน่ 

ดังนั้นจึงควรใช้เวลาในการตัดสินใจ และเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละจุดอย่างละเอียด เพื่อให้ไม่เป็นปัญหา หลังการก่อสร้างบ้านเสร็จ

เรื่องของบ้านมีอะไรมากกว่าที่คิด ไม่ใช่เพียงแค่สร้างบ้านเสร็จแล้วจบ เพราะยังต้องคำนึงถึงปัญหาระยะยาวที่จะตามมา ซึ่งปัญหาของหลังคารั่วซึมถือเป็นปัญหาคลาสสิคที่เจ้าของบ้านมักพบเจอกันอยู่บ่อยครั้ง หากไม่อยากพบเจอปัญหาเหล่านี้ ลองนำ 5 วิธีการเช็คที่เราแนะนำไปเช็คดูกัน เพื่อให้สบายใจกับการอยู่อาศัยในระยะยาวกันได้เลยครับ

และดีที่สุด เมื่อเลือกสร้างบ้านกับ ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทของเรามาพร้อมทีมงาน และทีมช่างที่มีประสบการณ์ด้านการทำงานก่อสร้างยาวนานกว่า 10 ปี วางใจได้เลยว่าประสบการณ์ที่สั่งสมมา จะทำให้คุณได้รับสิ่งที่ดีที่สุดแน่นอน ช่างมีฝีมือ ละเอียดทุกขั้นตอนสร้างบ้าน เราให้บริการในเขตพื้นที่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา พร้อมให้คำปรึกษา และตอบทุกข้อสงสัย

 

 


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

สร้างบ้านทั้งทีทำ "ประกันภัยบ้าน" คุ้มกันไว้ ปลอดภัยหายห่วง 
25 พ.ย. 2564

สร้างบ้านทั้งทีทำ "ประกันภัยบ้าน" คุ้มกันไว้ ปลอดภัยหายห่วง 

รอบรู้เรื่องบ้าน
สร้างบ้านอย่างไรให้เป็น "บ้านปลอดฝุ่น" ห่างไกลเชื้อโรค
13 ก.ย. 2564

สร้างบ้านอย่างไรให้เป็น "บ้านปลอดฝุ่น" ห่างไกลเชื้อโรค

รอบรู้เรื่องบ้าน
อัปเดต! ภาษีบ้านและที่ดิน 2565 ที่เจ้าของบ้านควรรู้
08 ส.ค. 2565

อัปเดต! ภาษีบ้านและที่ดิน 2565 ที่เจ้าของบ้านควรรู้

รอบรู้เรื่องบ้าน