มือใหม่สร้างบ้านควรอ่าน! "ฉนวนกันความร้อน" ควรมีจริง ?

มือใหม่สร้างบ้านควรอ่าน! "ฉนวนกันความร้อน" ควรมีจริง ?

18 พ.ย. 2564   ผู้เข้าชม 685

สำหรับมือใหม่ที่มีแพลนจะปลูกบ้านสักหลัง นอกเหนือจากแปลนบ้านที่ใช้สำหรับออกแบบโครงสร้างของบ้านแล้ว นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงบริเวณภายในบ้านว่าควรจะออกแบบให้มีอากาศถ่ายเทและเย็นสบาย ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้กันดีว่าประเทศไทยของเรานั้นเป็นเมืองร้อนที่มีสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ถ้าหากจะใช้แอร์อย่างเดียวก็อาจจะทำให้ค่าไฟนั้นบานได้ ดังนั้นจึงควรเลือกวัสดุกันความร้อนที่เข้ามาช่วยลดอุณภูมิภายในบ้าน เพื่อให้บ้านไม่ร้อนจนเกินไป ซึ่งการติดตั้งฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนที่ฝ้าเพดานบ้าน เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่นิยมใช้เพื่อแก้ไขปัญหาบ้านร้อนได้ดี พร้อมๆ กับทำให้บ้านเย็นขึ้น ก็ช่วยให้ประหยัดค่าไฟมากขึ้นตามไปด้วย

ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?

ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อน ทำหน้าที่สกัดความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ มีลักษณะเบา ประกอบด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมากซึ่งมีคุณสมบัติสกัดกั้นความร้อนให้อยู่ในฟองอากาศ จึงไม่นำพาความร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ นิยมนำมาใช้ติดตั้งบนโครงหลังคาบ้าน ซึ่งเรียกว่าหลังคากันความร้อน ในหลังคากันความร้อนนี้มีหน้าที่หลักคือ การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่ให้ส่งผ่านเข้ามาในบ้าน จนทำให้บ้านร้อนอบอ้าวจนเกินไป

3 รูปแบบ การติดตั้งฉนวนกันความร้อน 

การติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและประสิทธิภาพในการกันความร้อนที่ต่างกัน ซึ่งถ้าหากเราติดตั้งไม่ถูกวิธีก็อาจจะส่งผลให้ฉนวนกันความร้อนทำงานได้ไม่เต็มที่

1. ติดตั้งบนฝ้าเพดาน

สำหรับฉนวนกันความร้อนแบบม้วนสำหรับติดตั้งบนฝ้าเพดานที่นิยมคือ พอลิเอทิลีนโฟม,พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์, พอลิยูรีเทนโฟม และฉนวนใยแก้ว เพราะมีความหนาและหุ้มด้วยวัสดุกันความชื้นอย่างแผ่นฟอยล์ ช่วยหน่วงความร้อนไม่ให้สะสมในส่วนใต้หลังคา ทั้งนี้ควรมีช่องระบายความร้อนออกตรงฝ้าชายคาบ้านด้วย เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมใต้หลังคามากเกินไป

2. ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา

ฉนวนกันความร้อนที่ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา ได้แก่ ฉนวนใยแก้วแบบแผ่น อะลูมิเนียมฟอยล์ พอลิเอทิลีนโฟม,พอลิเอทิลีน บับเบิลฟอยล์ ฉนวนกันความร้อนชนิดฉีดพ่น หรือพอลิยูรีเทนโฟม และเยื่อกระดาษ ทำหน้าที่หน่วงความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนประเภทนี้ ควรติดตั้งไปพร้อมกันขณะสร้างหลังคาตั้งแต่ตอนที่เริ่มสร้างบ้าน แม้การติดตั้งฉนวนกันความร้อนใต้แผ่นหลังคาในเมืองไทยยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่กลับเป็นวิธีที่สามารถช่วยป้องกันความร้อนได้ดีที่สุด

3. ติดตั้งบนหลังคา

ฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นกันความร้อนที่ติดตั้งบนแผ่นหลังคา หรือที่เรียกว่า หลังคากันความร้อน ได้แก่ สีสะท้อนความร้อน ซึ่งจะสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคาบ้าน การติดตั้งแบบนี้แนะนำให้ใช้เป็นตัวเสริมกับการติดตั้งฉนวนแบบอื่นๆ เนื่องด้วยการทาสีมีพื้นผิวที่บางและหากเกิดคราบสกปรกประสิทธิภาพการสะท้อนแสงก็จะลดลง

5 ประเภท ฉนวนและวัสดุกันความร้อน หรือแผ่นกันความร้อน

ประเภทของฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ถ้าหากเราเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนที่ไม่ถูกประเภทก็อาจจะทำให้เราแก้ไขปัญหาได้ไม่ตรงจุด

  1. ฉนวนใยแก้ว (Fiberglass)

    เป็นฉนวนกันความร้อนที่มีลักษณะเป็นแผ่นหนาหุ้มด้วยแผ่นฟอยล์ ซึ่งภายในประกอบไปด้วยใยแก้วเส้นเล็กที่ประสานตัวเกิดเป็นช่องโพรงอากาศ ทำหน้าที่เก็บความร้อนไว้ภายในนั่นเอง ทั้งยังช่วยดูดซับเสียง ไม่ลุกติดไฟ แถมยังติดตั้งง่าย มีให้เลือกทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น
  2. แผ่นอลูมิเนียม ฟอยล์ (Aluminium Foil)

    เป็นวัสดุที่ช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวบ้าน ซึ่งแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ประเภทนี้ถูกทำให้หนาขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนและรังสียูวี มีลักษณะเหนียวคงทน ไม่ขาดง่าย
  3. โพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam)

    หรือโฟม PU เรียกกันง่ายๆ ว่า “โฟมเหลือง” เกิดจากเทคโนโลยีการฉีดโฟมเพื่อป้องกันความร้อนและได้รับการยอมรับว่ามีค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านความร้อน (Thermal Conductivity) ต่ำสุดเพียง 0.019 kcal/m.h Oc โฟมชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีคุณสมบัติป้องกันน้ำและความชื้น กันเสียงได้ดี แต่ข้อเสียคือ เสื่อมสภาพได้ง่าย หากสัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงเกินไปจะทำให้คุณภาพของฉนวนกันความร้อนชนิดนี้เสื่อมสภาพลง ฉนวนกันความร้อนโฟม PU ประเภทนี้ มีทั้งชนิดแบบแผ่นและแบบพ่น
  4. โพลีเอธิลีน โฟม (Polyethylene Foam)

    หรือโฟม PE เป็นอีกรูปแบบของฉนวนกันความร้อนที่ถูกเลือกมาใช้สำหรับสร้างบ้าน ด้วยราคาที่ต่ำกว่าฉนวนใยแก้ว ลักษณะของโฟม PE จะเป็นแผ่นเหนียวนุ่มและหนา หุ้มด้วยแผ่นฟอยล์บางๆ เคลือบผิวอีกชั้น ต้านทานความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบา เหนียว ที่สำคัญคือ ทนต่อแรงกระแทกได้ดี
  5. โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam)

    หรือโฟม PS หรือ EPS เรียกกันง่าย ๆ ว่า “โฟมขาว” สามารถกันได้ทั้งความร้อนและความเย็น เป็นฉนวนกันควาามร้อนแบบโฟมที่ติดคู่กับแผ่นยิปซัม เป็นวัสดุน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย จึงทำให้การติดตั้งสะดวกและรวดเร็ว สามารถทำเป็นฝ้าเพดานชั้นใต้หลังคาได้โดยไม่ต้องมีฉนวนอื่นเพิ่ม ช่วยลดขั้นตอนในการก่อสร้างได้ มักนิยมติดตั้งตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างบ้านเลยทันที

สำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ที่กำลังสร้างบ้านคงจะเห็นแล้วว่า นอกจากการเลือกฉนวนกันความร้อนที่เหมาะสมติดตั้งไว้ในแต่ละจุดของบ้านนั้นก็จะช่วยทำให้บ้านพักอาศัยของเรานั้นเย็นสบาย แถมยังช่วยประหยัดค่าไฟไปในตัวอีกด้วย

หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับสร้างบ้านที่ครบวงจรและเป็นมืออาชีพ “ปัญญาฤทธิ์โฮม บริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่” เรายินดีให้บริการรับสร้างบ้านอย่างครบวงจร โดยทีมงานมืออาชีพที่มากประสบการณ์การทำงานกว่า 10 ปี ที่พร้อมบริการสร้างบ้านให้แก่คุณ ปัญญาฤทธิ์โฮมบริษัทรับสร้างบ้านเชียงใหม่ มีเขตพื้นที่ให้บริการดังนี้ รับสร้างบ้านเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง และพะเยา


สาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง

ของมันต้องมี 10 ฟังก์ชั่นบ้านหรู ดูยังไงก็ Luxury
19 ก.ย. 2565

ของมันต้องมี 10 ฟังก์ชั่นบ้านหรู ดูยังไงก็ Luxury

รอบรู้เรื่องบ้าน
อัปเดต! ภาษีบ้านและที่ดิน 2565 ที่เจ้าของบ้านควรรู้
08 ส.ค. 2565

อัปเดต! ภาษีบ้านและที่ดิน 2565 ที่เจ้าของบ้านควรรู้

รอบรู้เรื่องบ้าน
จัดวาง ตำแหน่งห้องพระ ให้ถูกหลักเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่คนในบ้าน
11 ก.ค. 2565

จัดวาง ตำแหน่งห้องพระ ให้ถูกหลักเพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่คนในบ้าน

รอบรู้เรื่องบ้าน